DhammaTalks.net

 

"สนทนาธรรมกับอุบาสก"

 

 

พระโพธิญาณเถร  (หลวงพ่อชา  สุภัทโท)

หลวงพ่อ......อย่างพระท่านให้พิจารณาเราเกษียณแล้วหรือยัง?คือธาตุดินน้ำลมไฟไอ้ความแก่ความเจ็บนี่มันเกษียณเทวทูตนี้มันบอกเรา

อยู่ทุกวัน  แต่มันไม่บอกว่าฉันเกษียณเธอแล้ว  ไม่บอกอย่างข้าราชการหรอก  ไม่ออกหนังสืออย่างนั้น  แต่ว่าตามันก็ค่อยๆ เป็นของ

มันไป  หูก็ค่อยๆ เป็นของมันไป  ร่างกายก็ค่อยๆ เป็นของมันไปมันเกษียณมาแต่ก่อนนานแล้ว  มันตามอยู่เสมอ  ไม่ได้ทิ้งของมัน

อาตมาว่าให้พิจารณาความเกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  เพื่อจะให้มันเห็นว่า  เกษียณนี่มันหมายความว่าอะไร?  หมายถึงอะไร?  แต่บางที

คนเราชอบพูดว่า  ร่างกายไม่ค่อยดีซะแล้วต้องเข้าโรงซ่อมอะไรต่ออะไร  ยังไง  อันใดมันใกล้มันไกลกว่ากันไหม?  เราจะอยู่อย่างไร 

 ไปอะไรยังไง  เราควรคิดควรพิจารณาแล้ว

ผลที่สุดพระพุทธองค์ของเราท่านสอนว่า  ให้ระลึกถึงความตายอย่างเดียวเท่านั้นแหละอย่างอื่นมันก็ตายหมด  ความสลดสังเวชอะไร

ต่างๆ มันจะรวมเข้ามาทั้งหมด  รวมเข้ามาเห็นอนิจจังคือของไม่เที่ยง  เห็นอยู่เรื่อยๆ ไป  มันเห็นชัดอยู่ตลอดเวลา  มันไม่เที่ยงคือ

มันไม่อยู่อย่างเก่า  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  มันเปลี่ยน  นี่แหละคือเทวทูตมาเตือน  เช่นว่าผมมันหงอก  นี่มันก็เปลี่ยนไปแล้ว  

ถ้าเราเห็นนะ  ทุกวันนี้ยังมีของปกปิดอีก  มียามาย้อมมันไม่ให้มันแก่  ก็โกหกเจ้าของอยู่เรื่อยไปนั่นแหละ  โยมชอบจะเป็นอย่างนั้น

  ความจริงอันนั้นมันเปิดเผยอยู่แล้ว  มันเป็นสัจจธรรมเปิดเผยอยู่  แต่เราก็ช่วยกันปิดไว้กันตัวไว้ไม่ให้เราเห็น  มันจะเป็นอย่างนี้เสีย

โดยมาก  คือเชื่อจิตเจ้าของ  แต่ไม่ใช่เปิดเผยเจ้าของ  ตามธรรมชาติ  ตามลักษณะอันนั้น  เราก็ควรพิจารณาแล้วป่านนี้  มะเมียกับ

มะแมก็ไม่ไกลกันนะ  มันอยู่คนละซีก  เคยทำหรือเปล่า  เคยนั่งกำหนดจิตหรือเปล่า?

อุบาสก...เคยบ้างเหมือนกัน  กระผมก็อาศัยอ่านหนังสือ  แล้วก็แต่ก่อนยังไม่รู้ว่าจิตของตัวเองน่ะ  มันกำหนดถึงแค่ไหนถึงเขาจะเข้า

ไปลึกถึง...?

หลวงพ่อ...อย่าไปถามถึงโน่นเลย  ดูแต่เพียงว่าเราเป็นทุกข์ไหมวันนี้น่ะ  วุ่นวายไหม?  มันแก้ปัญหานี่ได้ไหม?  หรือมันแก้ไม่ได้ 

 อย่าไปเอาตรงโน้น  นั่นมันปลายเรื่องหรอก  พิจารณาว่าในชีวิตที่เราอยู่ทุกวันนี้  ชีวิตเราเป็นอย่างไร  มันหนักไหม?  มันทุกข์ไหม?  

มันขัดข้องไหม?  มันขุ่นมัวไหม?

อุบาสก...ก็คิดว่าตัวเองก็ไม่ค่อยจะมีอะไรเท่าไหร่  ไม่ได้ห่วงอะไรมาก  และก็อยากจะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นตามสมควร 

 อันนี้มันก็ทำให้หายทุกข์ไปได้  จะเป็นอย่างไรต่อไปก็คิดว่าคงจะน้อยลง

หลวงพ่อ...อาตมาก็เคยคิดหลายอย่าง  พิจารณาเกสา  โลมา  นะขา  ทันตา  ตะโจ   นึกว่าจะไม่ให้มันขัดข้องเลยเรื่องนี้  อยู่ต่อมาอายุประมาณสัก  ๕๐-๖๐  ฟันตรงนี้มันมาหลุดออกเสีย  แหม...มันวิตกกังวลไปหลายวันนะโยม  อาตมาคิดว่าฟันซีกนี้น่ะมันเป็นของธรรมดาของมัน   แต่เมื่อมันหลุดออกจริงๆ   แปลกนะโยม  ไปนั่งอยู่ก็วิตก  ไอ้เรานี่มันแก่นะสั่นเลยสั่นอยู่เรื่อยๆ   มันออกชื่อเดียวดูมันหลงอยู่นี่  

แต่ก่อนไม่เห็น  เห็นแต่คนอื่นเขาเป็นคนแก่  พอเราแก่แค่นี้นะไปวิตกกังวลอยู่หลายวัน  มันไม่แน่เหมือนกัน...อันนั้นเราคิด

อีกอันหนึ่งเมื่อเราจะทิ้งมันจริงๆ   นี่มันยาก  อาตมาเคยไปธุดงค์ไปธุดงค์มันต้องเอาของน้อยๆ มันถึงสบายดีมันจะไม่รกรุงรังมัน

จะไม่หนัก  ก็เก็บโน่นเก็บนี่ใส่จะไปเมื่อจะไปจริงๆ แล้วน่ะ  บางทีมันอยากเลยไปถึงหมอนนั่น  ผ้าขี้ริ้ว  ผ้าเช็ดเท้า  ก็อยากจะ

เอาไปด้วยนะโยมนะ  กลัวมันจะขาดจะเขิน  กลัวจะลำบาก  มันมีของเราๆ ก็ใช้มันไป  มันก็ง่ายพอเราจะเอาจริงๆ มันผูกเรา

เต็มที่เหมือนกันนะ  ของนิดเดียวนี่แหละจะทำให้เรามองเห็น  นี่...ให้จำไว้เมื่อจะทิ้งจริงๆ มันเสียดายนะ  ผ้าขี้ริ้วจะทิ้งนี่ 

 แหม...เอาเช็ดหม้อข้าวก็ยังได้...(หัวเราะ)  ยิ่งคนแก่ยิ่งถนัดถนี่นัก  ระวังให้ดีเถอะ  เมื่อจะเอาจริงๆ เด็ดขาดนี่ยาก...จำไว้ 

 แล้วจะมองเห็นเจ้าของได้

อุบาสก...อันนี้หมายถึงกิเลสอ่อน...

หลวงพ่อ...ใช่...ไอ้ความอุปาทานยังมั่นหมายอยู่

อุบาสก...บางครั้งเป็นกังวลกับความไม่พอใจอะไรต่ออะไร...ไม่สบายใจ  มันก็มีบ้าง   เพราะมันยาก

หลวงพ่อ...นั่นละ...มันบ้าอยู่ตรงนั้นแหละ  นั่นแหละตัวสำคัญ  ไม่ต้องไปถึงสมาธิขั้นไหนหรอก  ขั้นที่มันเป็นกังวลนี่แหละสำคัญ 

 กังวลน้อย...กังวลมาก  มันจะรู้จักตรงนี้ง่ายดี

อุบาสก...หมายความว่าให้ละได้เสียก่อน...ถ้าอย่างนี้ก็ไม่มีอาสวะแล้ว

หลวงพ่อ...ต้องพยายามมัน  จะทิ้งเฉยๆ ก็ไม่ได้  มันต้องเห็นโทษมันนะ  สิ่งที่เราจะทิ้งมันได้น่ะ  จะต้องเห็นโทษมันเสีย...แล้วก็เห็น

คุณมัน  เมื่อจะทิ้งอย่างนี้มันเกิดประโยชน์อย่างใด   เห็นคุณมันอย่างมากที่สุด  แต่คนเราเมื่อจะออกจากบ้านไปไหนน่ะ  เมื่อไรเราจะกลับ...แน่ะมันจะเป็นอย่างนี้  ไม่ทำแล้วอยากได้ 

 ยังไม่ได้ทำเลย  คิดไปแล้วก็อยากได้  เหมือนกับเราไปที่อื่น  เช่นลงจากเรือนนี้  เมื่อเรากลับมา  พอมาปุ๊บ...มันอยากจะกลับแล้ว..

.พร้อมกันเลย  มันเป็นเรื่องธรรมดาของมัน  อย่างไรก็ช่างเถอะ  อย่าไปทิ้งเจ้าของเท่านั้นน่ะ  เรื่องของเรายังไม่จบ  แต่ยังไงก็ต้องทำ   มันเป็นเรื่องจำเป็นที่สุด

อย่าไปเข้าใจว่าการทำสมาธิจะต้องไปนั่งหลับตาอย่างเดียวการทำงานทุกอย่างให้มีสติอยู่  เดี๋ยวนี้เราทำผิดไหม?  เดี๋ยวนี้เราคิดผิดไหม?

  คิดถูกไหม?  ในเวลานี้เดี๋ยวนี้เราพูดกับคน   เดี๋ยวนี้มีความรู้สึกอย่างใดไหม?  อิจฉาคนอื่นไหม?  เอาเปรียบเขาไหม?...เราคิดไปถ้ามันกลางๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร  ถ้ามีก็ค่อยๆ

 รู้จักไม่มีใครรู้จักความดีความชั่วของเราเท่ากับเรารู้ของเราเอง  ใจมันจะเบาออกไปเรื่อยๆ   มันก็เป็นศีล...เป็นสมาธิ...เป็นปัญญา

ทั้งนั้นแหละ  มันเป็นสิ่งที่เกี่ยวกัน

อุบาสก...ผมมานี้ก็ได้ประโยชน์มาก  จะได้พิจารณาใคร่ครวญดู

หลวงพ่อ...ใช่...ไปพิจารณาดู  ไปสะสางดู  บางทีมันก็ไม่แน่  มันไปง่ายๆ   จิตเรามันเห็นง่ายๆ   มันก็ไปง่ายๆ เหมือนกัน  

อย่าพูดถึงการบวชเถอะ  พูดถึงการปฏิบัติกันการบวชมันไม่ยากหรอกมันยากแต่การปฏิบัติ  บางคนก็บอกแต่การบวชๆ  

 บวชเข้ามาทำอะไร?...ก็บวชเข้ามาปฏิบัติอยู่นั่นแหละ  ถ้ามันมีโอกาส...ทุกคนก็ต้องบวชกันซี  มันแน่อยู่ในการปฏิบัติ  

ปฏิบัติอยู่ในฆราวาสก็เหมือนกัน  ปัญญารู้ไปถึงไหนก็ไปถึงนั่นแหละ  ไม่ใช่การบวชเข้ามาเฉยๆ   แต่จะต้องปฏิบัติอย่างเก่า

มันนั่นแหละฯ

********************

 

 

 

Source : http://www.watnongpahpong.org

 

Home | Links | Contact

Copy Right Issues © DhammaTalks.net